พุทธิพงษ์ รมว. DES มั่นใจ 7 ม.ค.นี้ กดปุ่มควบรวม TOT – CAT ตั้ง NT แน่นอน ชี้ประชาชนจะได้ใช้บริการโทรคมนาคม ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ นำไทยก้าวสู่ประเทศดิจิทัลอย่างแข็งแกร่ง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ยืนยันว่า การควบรวมระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) หรือ TOT และ กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)หรือ CAT ให้เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติจำกัด (National Telecom Public Company Limited:NT) จะดำเนินการตามกำหนดเดิมแน่นอน และตนได้หารือปัญหาต่างๆกับสหภาพแรงงานฯแล้ว ซึ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดย วันที่ 7 ม.ค. 2564 นี้ NT จะถูกจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์
โดยหลังจากการควบรวมเป็น NT จะเป็นบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุดมูลค่าสินทรัพย์มากถึง300,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
เสาโทรคมนาคมกว่า 25,000 ต้นทั่้วประเทศ
เคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมต่อไปยังทุกทวีป
ถือครองคลื่นความถี่หลักเพื่อให้บริการรวม 6 ย่านมีปริมาณ 600 เมกะเฮิรตซ์
ท่อร้อยสายใต้ดินมีระยะทางรวม4,ุ600 กิโลเมตร
สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง 4 ล้านคอร์กิโลเมตร
Data Center 13 แห่งทั่วประเทศ
ระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เข้าถึงจากทุกประเทศในโลก
ส่วนประชาชนทั่วไปจะได้รับบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีประสิทธิภาพในประเทศเพื่อเข้าถึงโลกดิจิทัลทุกพื้นที่ ที่สำคัญ NT จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0 เป็นประเทศดิจิทัลอย่างแข็งแกร่งและส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ลูกค้าเอกชนทั้งรายใหญ่ SMEs และ ระดับ Startup ด้วย
นายพุทธิพงษ์ กล่าวไว้ว่า “NT จะกลายเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีศักยภาพในการให้บริการโดยเฉพาะเรื่อง 5G และดาวเทียม ทั้งการนำเอาดิจิทัลมาให้บริการภาคการสาธารณสุข การเกษตร และคมนาคม โดย NT จะเป็นผู้รวบรวมบิ๊กดาต้าผ่าน 5G ที่ประมูลได้ ซึ่งจะเริ่มนำมาให้บริการภาคสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ”
บริษัท sinovac จากจีน อยู่ในระหว่างประสานงานเพื่อเตรียมขึ้นทะเบียน ส่วนบริษัทผู้ผลิตวัคซีน รายอื่นๆ มีผู้แทนสอบ ถามเข้ามา แต่ยังไม่มีการดำเนินการ ทีมแพทย์ทุกคน ทำงานหนักทั้งกลางวันกลางคืน มีเป้าหมายเพื่อหยุดการระบาดให้ได้เร็วที่สุด เราพร้อมรับฟังคำวิจารณ์ คำติ คำแนะนำ เพื่อนำไปพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น และยินดีตอบทุกคำถาม เท่าที่จะตอบได้ แต่ขอความกรุณา อย่าตั้งข้อกล่าวหา ข้อครหา จนทำให้ทุกคนไม่กล้าตัดสินใจทำงานเพื่อส่วนรวม แล้วตัวเอง ต้องได้รับผลกระทบในอนาคต
ยังมีอีกหลายเรื่อง ที่ทีมแพทย์ ต้องคิด ต้องตัดสินใจ ต้องทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะในรอบ100 ปี ที่ผ่านมา เราไม่เคยเผชิญหน้ากับสถานการณ์การระบาดใหญ่แบบนี้มาก่อน ดังนั้น ผมอยากจะขอความร่วมมือ ขอกำลังใจให้คนทำงาน ให้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ทุกคนทำงานด้วยความมั่นใจ เพื่อความสำเร็จของประเทศ ไทย และความปลอดภัยของคนไทย”
อก. เข้ม สถานประกอบการ 28 จว. เฝ้าระวัง โควิด-19
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( โควิด-19 ) จึงได้มีการจัดมาตราการใน สถานประกอบการ บนพื้นที่เสี่ยงสูงสุด 28 จังหวัด เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดเพิ่มเติม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( โควิด-19 ) ออกเป็นวงกว้างกระจายในหลายเขตพื้นที่ และรัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดและบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์ดังกล่าวด้วยมาตรการทางกฎหมาย และการขอความร่วมมือทั้งผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน อย่างเข้มข้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กระทรวงอุตสาหกรรมได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิด โดยขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น
โรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทั้งที่อยู่ในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
ผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร
ผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
ใน 28 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร ชลบุรี ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ระนอง ระยอง ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี สระแก้ว สระบุรี อ่างทอง เป็นต้น
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าวในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว ไม่ให้ติดต่อไปยังบุคคลอื่นที่อยู่ในหรือนอกโรงงาน โดยในพื้น 28 จังหวัด มีสถานประกอบการ 49,391 โรงงาน จำนวนคนงานกว่า 3,020,000 คน
แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี